วัสดุธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมสี

 
 

สีน้ำตาล เกิดจากการย้อมสีของ “เปลือกต้นประดู่

2. สีน้ำตาล เกิดจากการย้อมสีของ
เปลือกต้นประดู่
 

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Pterocarpud macrocarpus Kurz
ขื่อวงศ์ : LEGUMINOSAR – PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : Burmese Ebony, Burma Padouk, Bara

  ต้นประดู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตรหรือสูงกว่า เรือนยอดเป็นรูปกรวย เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน มีร่องตามยาวเล็กน้อย เมื่ออายุมากขึ้นจะเข้มขึ้น เปลือกแตกเป็นเกล็ด เปลือกชั้นในเป็นเยื่อสีน้ำตาลแดง มียางเป็นหยดสีแดง ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบย่อย 3-6 คู่ รูปไข่ มีขนสีน้ำตาลบนก้านใบและเส้นใบด้านหลัง ใบแห้งเป็นสีเทา ดอกออกเป็นช่อยาว 5-9 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบ ก้านช่อดอกไม่แตกแขนง ดอกคล้ายดอกถั่วสีเหลืองสด ผลกลมแบนมีปีกเป็นคลื่นโดยรอบ มีเมล็ด 1-2 เมล็ดตรงกลาง ปลายผลเป็นติ่งเล็กๆสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวปกคลุม ผลไม่แตก

    การเตรียมน้ำย้อม
การย้อมสีจากต้นประดู่นี้สามารถนำยาง หรือเปลือกมาใช้ในการย้อมได้ โดยการกะเทาะเปลือกนอกของลำต้นประดู่ ซึ่งเมื่อเรากะเทาะเปลือกออกมาจะมีน้ำยางของประดู่ติดออกมาด้วย กรรมวิธีการเตรียมน้ำย้อมทำได้โดยนำเปลือกที่ได้ไปต้มในน้ำร้อน ต้มและเคี่ยวไปมาประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้สีของประดู่ซึ่มออกมา จากนั้นจึงกรองเอาเปลือกประดู่ออกเพื่อนำมาย้อมผ้า หรือเส้นไหม

    การย้อม

นำเส้นไหม หรือเส้นฝ้ายลงไปย้อมประมาณ 1 ชั่วโมง (ย้อมร้อน) โดยระหว่างที่ทำการย้อมนั้นควรกลับเส้นไหม หรือเส้นฝ้ายบ่อยๆ เพื่อให้สีติดอย่างทั่วถึง หลังจากนั้นจึงนำเส้นไหม หรือฝ้ายที่ได้ไปแช่น้ำด่างที่ได้จากการผสมน้ำเปล่ากับสารส้ม เพื่อให้สีที่ย้อมเส้นไหมมีความเสมอกันทั้งหมด หลังจากนั้นจึงนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดจนกระทั่งไม่มีสีตกออกมาแล้วจึงนำไปผึ่งลมในที่ร่ม สีที่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของเปลือกไม้ และระยะเวลาในการย้อม

สีที่ได้จากการย้อมเปลือกต้นประดู่ C0 M23.5 Y43 K18.5